เมนู

ตกลงใจในประโยคเป็นต้นว่า หากใครจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชราและมรณะมี
เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย บุคคลนั้นก็จะพึงถูกคัดค้าน ดังนี้ว่า ชราและมรณะมี
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย.
ในที่นี้ อิติศัพท์นี้นั้น พึงเห็นว่า ปรากฏในความหมายว่า ปการะ
นิทัสสนะ และอวธารณะ. บรรดาความหมายทั้ง 3 อย่างนั้น ด้วยอิติศัพท์
ที่มีความหมายว่า ปการะ พระอานนทเถระ จึงแสดงความหมายนี้ไว้ว่า
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีความหมายที่ละเอียดด้วยนัยต่าง ๆ
มีสมุฏฐานมาจากอัธยาศัยเป็นอเนก สมบูรณ์ด้วยอรรถ และพยัญชนะ มี
ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ อย่าง ลึกซึ้งด้วยธรรม (เหตุ) อรรถ (ผล) เทศนา และ
ปฏิเวธ มากระทบคลองแห่งโสตประสาทของสรรพสัตว์ คามสมควรแก่ภาษา
ของตน ๆ ว่า ใครเล่าจะสามารถเข้าใจได้ครบทุกประการข้าพเจ้าแม้ยังความ
เป็นผู้ประสงค์จะฟังให้เกิดขึ้นด้วยเรี่ยวแรงทั้งหมด ก็ฟังมาแล้วอย่างนี้ คือ
แม้ข้าพเจ้าก็ฟังมาด้วยประการอย่างหนึ่ง.

อธิบายบทว่า นานานยนิปุณํ เป็นต้น


ในบทว่า นานานยนิปุณํ เป็นต้นนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
นัยต่าง ๆ อย่างกัน โดยแยกตามอารมณ์เป็นต้น กล่าวคือ เอกัตตนัย นานัตตนัย
อัพยาปารนัย และธัมมตานัย และกล่าวคือนันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัย สีห-
วิกิฬิตนัย ทิสาโลจนนัย และอังกุสนัย ชื่อว่า นานานัย (นัยต่าง ๆ).
อีกประการหนึ่ง นัยทั้งหลายได้แก่ คติแห่งบาลี. และคติแห่งบาลีเหล่านั้น
ก็มีประการต่าง ๆ กัน ด้วยอำนาจบัญญัตินัย และอนุบัญญัตินัยเป็นต้น ด้วย
อำนาจสังกิเลสภาคิยาทินัย โลกิยาทินัย และตทุภยโวมิสสตานัยเป็นต้น ด้วย
อำนาจกุสลนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจขันธนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจสังคหนัยเป็นต้น

ด้วยอำนาจสมยวิมุตตินัยเป็นต้น ด้วยอำนาจฐปนนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจกุสล-
นัยเป็นต้น และด้วยอำนาจติกปัฏฐานนัยเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
นานานัย (มีนัยต่าง ๆ กัน ). ความหมายที่ชื่อว่า ละเอียดด้วยนัยต่าง ๆ
เพราะหมายความว่า ละเอียด คือ ละเอียดอ่อน ได้แก่สุขุม ด้วยนัยเหล่านั้น.
อาสยะนั่นแล ชื่อ อัชฌาสัย. และอัชฌาสัยนั้นก็มีหลายอย่าง โดยแยกเป็น
สัสสตทิฏฐิเป็นต้น และโดยแยกเป็นผู้มีธุลี คือ กิเลส ในจักษุน้อยเป็นต้น
จึงชื่อว่า อเนกัชฌาสัย (มีอัชฌาสัยเป็นอเนก) อีกประการหนึ่ง อัชฌาสัย
เป็นอเนก มีอัชฌาสัยของตนเป็นต้น ชื่อว่า อเนกัชฌาสัย. อเนกัชฌาสัยนั้น
เป็นสมุฏฐาน คือ เป็นแดนเกิด ได้แก่ เป็นเหตุแห่งพระพุทธพจน์นั้น
เพราะเหตุนั้น พระพุทธพจน์นั้น จึงชื่อว่า มีอเนกัชฌาสัยเป็นสมุฏฐาน.
(พระพุทธพจน์) ชื่อว่า ถึงพร้อมด้วยอรรถ เพราะเมื่อมีความถึงพร้อมด้วย
อรรถ มีกุศลเป็นต้น จึงประกอบด้วยบทแห่งอรรถ 6 บท คือ สังกาสนะ
ปกาสนะ วิวรณะ วิภชนะ อุตตานีกรณะ และบัญญัติ ชื่อว่า ถึงพร้อมด้วย
พยัญชนะ เพราะเมื่อมีความถึงพร้อมด้วยพยัญชนะ. ที่ประกาศอรรถนั้นให้
แจ่มแจ้ง จึงประกอบด้วยบทแห่งพยัญชนะ 6 บท คือ อักขระ บท พยัญชนะ
อาการ นิรุกติ และนิเทศ. ชื่อว่า มีปาฏิหาริย์ต่างอย่างกัน เพราะหมายความว่า
ปาฏิหาริย์ต่างๆ อย่าง คือ มากอย่าง โดยแยกเป็น อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนา-
ปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ และโดยที่ปาฏิหาริย์ทั้ง 3 นั้น ปาฏิหาริย์
แต่ละอย่างก็แตกต่างกันไปตามอารมณ์เป็นต้น .

อธิบาย คำว่า ปาฏิหาริย์


ในบทว่า วิวิธปาฏิหริยํ นั้นพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ที่ชื่อว่า
เป็นปาฏิหาริย์ เพราะนำไปเสียซึ่งกิเลสที่เป็นข้าศึก คือ เพราะกำจัดกิเลสมี